วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หน้าที่ของ GIS

หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works )
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้ 
1. การนำเข้าข้อมูล (Input)
 ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น 
2. การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
 ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน 
3. การบริหารข้อมูล (Management) 
 ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง



4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis) 
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น
  • ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน ?
  • เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ?
  • ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ?
หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น 


5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
 จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 
( Geographic Information System ) GIS"
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย 
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

       1.  GPS  คืออะไร
       2.  GPS  มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
       3.  ความถูกต้องแม่นยำของ GPS ขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้างเพราะเหตุใด
       4.  อธิบายการทำงานของระบบ GPS
       5.  ประโยชน์ของ GPS  มีอะไรบ้าง
       6.  จงยกตัวอย่างในการประยุกต์ใช้ในปัจจุบันที่พบเห็นมา

เทคนิคระบบกำหนดตําแหน่งบนพนื้โลกผ่านดาวเทียม

GPS มาจากคำว่า Global Positioning System เป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม
        
         ประวัติความเป็นมาจากการออกแบบและสร้างโดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อต้นปี 1970 มีชื่อเป็นทางการว่า Navigation Signal Timing and Ranging Global Positioning System (NAVSTAR GPS)  GPS เป็นระบบที่สามารถใช้หาตำแหน่งบนโลกได้ในทุกสภาพอากาศตลอด24 ชั่วโมง และใช้ได้ทั่วโลก






GPS ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักคือ
        1. ส่วนอวกาศ (Space segment)
        2. ส่วนสถานีควบคุม (Control segment)
        3. ส่วนผู้ใช้ (User segment)
ส่วนอวกาศ (Space segment) ประกอบด้วย
        ดาวเทียมโคจรรอบโลก 24 ดวง ใช้ปฏิบัติงาน 21 ดวง สำรอง 3 ดวง  ลอยอยู่ในวงโคจรสูงประมาณ 20,000กิโลเมตร หมุนรอบโลก1 รอบใช้เวลาโคจร 12 ชั่วโมง   วงโคจรมีทั้งหมด 6 วงโคจร แต่ละวงโคจรมีดาวเทียม 4 ดวง  เพื่อความแม่นยำ ถูกต้อง ในการคำนวณตำแหน่งพิกัดของ GPS Receiver ที่รับสัญญาณบนโลก  ดาวเทียมจะใช้นาฬิกาอะตอมมิค    ได้แก่  นาฬิกาอะตอมซีเซียม 2 เรือน และนาฬิกาอะตอมรูบิเดียม 2 เรือน
การติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมใช้คลื่นวิทยุประกอบด้วย 2คลื่นความถี่ คือ  คลื่น L1 ความถี่ 1575.42 MHz  และคลื่น L2 ความถี่ 1227.60 MHz

ส่วนสถานีควบคุม (Control segment)ได้แก่สถานีภาคพื้นดินที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบ กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลก เพื่อทำหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลดาวเทียมให้มีความถูกต้องและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น
        1. สถานีควบคุมหลัก 
        2. สถานีติดตามดาวเทียม ทำหน้าที่รังวัดติดตามดาวเทียมตลอดเวลา
        3. สถานีรับส่งสัญญาณ
       ในการทำงานสถานีควบคุมหลักจะรับข้อมูลตำแหน่งและเวลาในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมแต่ดวงจากสถานีติดตามดาวเทียม จากนั้นทำการตรวจสอบและปรับแก้ค่าความถูกต้องของข้อมูล




ส่วนผู้ใช้ (User segment)
        ส่วนผู้ใช้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงผู้ใช้งานระบบ GPS แล้ว ยังรวมถึง ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ รวมถึงเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพของการรับสัญญาณที่ดีขึ้น และค่าความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่ถูกต้องมากขึ้น

ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ระบบ GPS
• ช่วยนำทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ตามต้องการ
• ช่วยในการติดตามการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ คน สัตว์ และสิ่งของ
• ช่วยในการปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลจากดาวเทียม
• ช่วยในการสำรวจรังวัด ทำแผนที่ และจัดสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
• ช่วยในการควบคุมเครื่องจักรกลในภาคเกษตรกรรม
• ช่วยในการบริหารจัดการคมนาคมขนส่ง
• ช่วยสนับสนุนการให้บริการข้อมูลข่าวสารเชิงตำแหน่ง(Location Based Service)
• อื่นๆ


การใช้ GPS นำทางในรถยนต์




วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของการตัดสินใจ

ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่       
          1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง ( Structure Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว (programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด หรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด การตัดสินใจแบบนี้จึงมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) หรือศาสตร์ทางด้านวิทยาการ การจัดการ (Management Science) หรือการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) เข้ามาใช้ โดยในบางครั้งอาจนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมด้วย  ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้าง ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง จะต้องสั่งของเข้า(Order Entry) ครั้งละเท่าไร เมื่อใด การวิเคราะห์งบประมาณ (Budget Analysis) ที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ การตัดสินใจเรื่องการลงทุน จะลงทุนอะไร ที่ตั้งโกดังเก็บสินค้า (Warehouse Location) ควรตั้งที่ไหน, ระบบการ จัดส่ง/การจำหน่าย (Distribution System) ควรเป็นอย่างไร เป็นต้น       
  
          2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ( Nonprogrammed ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจน หรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของ ผู้บริหารในการตัดสินใจ ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง เช่น การวางแผนการบริการใหม่, การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า        

         3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Decision) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้าง และแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐาน และการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่ง โครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่าจะมี

การจัดการกับการตัดสินใจ

การจัดการกับการตัดสินใจ
          การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยใช้กระบวนการและทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
         การจัดการเป็นศาสตร์และศิลปะซึ่งกระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน (Planning),การจัดองค์การ (Organizing), การสั่งการหรืออำนวยการ (Leading/Directing) และการควบคุม (Controlling) โดยการจัดการที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจะต้องสามารถนำเอาความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ด้านการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหาะสมกับการทำงาน สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ผู้บริหารจะต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ
ระดับการจัดการ
         การจัดการภายในองค์การ  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ การจัดการระดับสูง ( Upper  lever management )  การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)  การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)
ซึ่งผู้บริหารแต่ละระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต่างกัน

1. การจัดการระดับสูง (Upper-level Management)
ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงวางแผนกลยุทธ์และแผนระยะยาวขององค์การ จึงมีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างและสารสนเทศเกี่ยวกับแนวโน้มต่าง ๆ จากทั้งภายในองค์การและสิ่งแวดล้อมภายนอก
2. การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)
ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่วางแผนยุทธวิธี (Tactical Planning) และประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารงานระดับต้นหรือหัวหน้างานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถปฏิบัติงานตามนโยบายหรือแผนงานที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง
3. การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)
ผู้บริหารงานระดับต้นหรือหัวหน้างานมีหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานประจำวัน (Operational Control) ซึ่งขั้นตอนการทำงานมีรูปแบบที่แน่นอนและทำงานใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับกลาง การจัดการในระดับนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดนำมาวิเคราะห์เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานและควบคุมให้สามารถดำเนินงานตามแผนระยะสั้นที่วางไว้

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)   

          เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

10 อันดับโรงแรมที่มีวิวสวยสุด ของกรุงเทพฯ

อันดับ 10 ได้แก่ โรงแรมเพนนินซูล่า - ร้านอาหาร ทิพย์ธารา (Thiptara Restaurant)



ที่ได้ชื่อว่า เป็น “สวรรค์บนน้ำ” เนื่องจากทอดตัวอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและโอบล้อมร่มรื่นไปด้วยต้นไทร ขนาดใหญ่ ร้านอาหารใหม่ของโรงแรมเพนนินซูล่าแห่งนี้ ให้บริการอาหารไทยในรูปแบบและรสชาติแบบคนไทย โดยร้านอาหารได้รับการออกแบบที่สะท้อนความเป็นไทยได้ชัดเจนด้วยกลุ่มเรือน ไทยไม้สักในบรรยากาศกลางแจ้ง โรงแรมเพนนินซุล่า ยังได้รับการจัดอันดับที่ 17 จากสุดยอด 500 โรงแรมที่ดีที่สุดจากนิตยสาร Travel and Leisure

อันดับ 9 ได้แก่ โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ - ทรี ซิกตี้ เล้าจ์ (Three Sixty Lounge)



ตั้งอยู่บนชั้น 32 ของโรงแรม บริเวณเล้าจ์ได้รับการออกแบบให้แขกที่ใช้บริการได้สัมผัสความโล่งโปร่งสบาย ของผนังกระจกที่ทำให้สามารถมองเห็นวิวของเส้นขอบฟ้าของกรุงเทพในมุมกว้างสุด สายตาพร้อมบรรยากาศโรแมนติกด้วยการจิบคอกเทลเคล้าดนตรีแจ๊ซเบาๆ

อันดับ 8 ได้แก่ โรงแรมโอเรียลเต็ล - Verandah


ห้องอาหาร The Verandah ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาภายใน โรงแรมโอเรียลเต็ล ที่นี่เหมาะสำหรับการดื่มด่ำบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นอาหารมื้อเช้า กลางวัน หรือเย็น โดยมีให้เลือกทั้งอาหาร แบบตะวันตกและตะวันออกแวดล้อมด้วยบรรยากาศแบบไทยๆ 
ภายใต้รูปแบบการบริการระดับห้าดาว


อันดับ 7 ได้แก่ โรงแรมใบหยกสกาย - Bangkok Sky Restaurant 


โรงแรมใบหยกสกาย ตั้งอยู่บนตึก "สูงที่สุดในประเทศไทย" ที่นี่มีร้านอาหาร บนยอดตึกให้เลือกลิ้มรสและชมวิวถึง 3 แห่ง ได้แก่ ร้านอาหารBangkok Sky Restaurant บนชั้น 76 และ 78 ร้านอาหาร Crystal Grill บนชั้น 82 และร้าน Roof Top Bar & Music บนชั้น 83 
งได้ชื่อว่าเป็นสถานบันเทิง ที่สูงที่สุดในประเทศไทย

อันดับ 6 ได้แก่ โรงแรม เวสติน แกรนด์ สุขุมวิท - Horizon Sky Lounge and Karaoke


ที่ร้าน Horizon Sky Lounge and Karaoke ในโรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท คุณสามารถเพลิดเพลินหลังมื้อเย็นด้วยเมนูเครื่องดื่มที่หลากหลาย เคล้าเสียงเพลงอันไพเราะ หรือจะเลือกสนุกสนานกับการร้องเพลงในหมู่เพื่อนฝูง หรือครอบครัวที่ห้องคารา โอเกะ พร้อมดื่มด่ำวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของกรุงเทพฯ ยามราตรี รับรองว่าถ้ามาที่นี่แล้ว คุณจะสนุกสนานเพลิดเพลิน จนลืมเวลาเลยทีเดียว

อันดับ 5 ได้แก่ โรงแรมแลนด์มาร์ค - RR & B Bar




RR & B Bar เป็นสเต็กเฮ้าส์และบาร์ที่ตั้งอยู่บนชั้น 31 ของโรงแรมแลนด์มาร์ค ย่านสุขุมวิท นอกจากที่นี่จะมองเห็นวิวของตึกระฟ้า และแสงสว่างเป็นแนวยาวของ ทางด่วนแล้ว ยังมีอาหารรสเลิศ และเครื่องดื่มชั้นยอดไว้คอยบริการอีกด้วย

อันดับ 4 ได้แก่ โรงแรมดุสิตธานี - D’Sens


D’Sens คือ ภัตตาคารอาหารฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นบนสุดของ โรงแรมดุสิตธานี ภัตตาคารแห่งนี้มีผนังกระจกขนาดใหญ่ ลูกค้าที่ไปรับประทาน อาหารจึงสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของสวน ลุมพินี และย่านสีลม

อันดับ 3 ได้แก่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ - Fifty Five / Red Sky


ร้าน Fifty Five ตั้งอยู่บนชั้น 54 และ 55 ของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ในขณะที่ ร้าน Red Sky ตั้งอยู่บนชั้น 55 ทั้งสองร้านที่ว่านี้ นอกจากจะเสิร์ฟอาหารคุณภาพเยี่ยมแล้ว ยังมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมากๆ อีกด้วย

อันดับ 2 ได้แก่ โรงแรมบันยัน ทรี - Vertigo Grill & Moon Bar


ร้านอาหาร Vertigo Grill & Moon Bar ตั้งอยู่บนชั้น 61 ของโรงแรม บันยันทรี ที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำหรับท่านที่ชื่นชอบการรับประทาน อาหารค่ำ เคล้าบรรยากาศอันงดงาม โดยเฉพาะในยามพระอาทิตย์ตกดิน ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจาก "Vertigo Grill & Moon Bar" ตั้งอยู่ชั้นบนสุดของโรงแรม จึงสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของกรุงเทพฯ ได้สุดลูกหูลูกตาในแบบพาโนรามา หากใครได้มาชมพระอาทิตย์ตกดินที่นี่แล้วจะรู้ว่า กรุงเทพฯ ของเรานั้น สวยงามไม่แพ้ที่ใดในโลกเลยจริงๆ

อันดับ 1 ได้แก่ โรงแรมเลอ บัว แอท สเตท ทาวเวอร์ - Sirocco


ภัตตาคาร Sirocco ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 63 ของเดอะโดม ถือเป็นจุดที่มีทัศนียภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ และสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นร้านอาหารบนยอดตึกโรงแรมที่มีวิวสวยที่สุดแล้ว Sirocco ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 'Hot Tables' & 'Hot Night' โดย Conde Nast Traveler เมื่อปี ค.ศ. 2005 และได้รับการขนานนามว่าเป็นภัตตาคารแบบ เปิดโล่งที่ "สูงที่สุดในโลก" อีกด้วย ที่สำคัญ อาหารที่นี่ยังอร่อยและขึ้นชื่อ การันตีด้วยรางวัลร้านอาหารยอดเยี่ยม แถมดนตรีก็ไพเราะ เหมาะสำหรับท่านที่ชื่นชอบฟังเพลงแจ๊ส ส่วนเรื่องบรรยากาศ นั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ชนิดสวยตะลึงของกรุงเทพฯ และแม่น้ำเจ้าพระยา 
ทั้งในเวลาโพล้เพล้และยามค่ำคืน 

ขอบคุณข้อมูลจาก : TopTenThailand.com www.cpall.co.th



10 เมืองอากาศดี... หนาวนี้อย่าพลาด

1. ปาย 
          เมืองหน้าหนาวสุดฮิต แต่มาปลายฝนต้นหนาวก็ไม่ผิด ข้อดีข้อหนึ่งคือ คุณจะได้เห็นทุ่งนาสีเขียวให้ได้ชื่นชมบ้างก่อนที่เขาจะเก็บเกี่ยวเสร็จ....... 





2. เชียงราย 

               จังหวัดที่ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้ได้อย่างมาก ที่นี่ คุณจะได้พบกับความสุข ความกลมกลืน และความสงบผลลัพธ์ที่ได้คือบรรยากาศอันชวนผ่อนคลาย..




3. เชียงใหม่ 
                 กุหลาบงามแห่งล้านนา ดินแดนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของศิลปะ สายหมอก และดอกไม้ พอสายลมเย็นๆ.......




 4. เชียงคาน 
                 เรือนไม้เก่าแก่ตั้งเรียงแถวเป็นแนวยาว เดินทอดน่องบนถนนเส้นเล็กๆ ปั่นจักรยานเลียบลำนํ้าโขงชมวิวประเทศลาวซึ่งอยู่ใกล้กันจนเหมือนมือเอื้อมถึง เพราะเสน่ห์อันแสนเรียบง่ายเช่นนี้ทำให้ชื่อของเชียงคานได้รับการรํ่าลือกระฉ่อนเมืองไทยในช่วงเวลาเพียงสองปีที่ผ่านมา 


5. น่าน 
     น่านเป็นเมืองเล็กๆ ที่อุดมไปด้วยความงดงามของขุนเขา ป่าไม้ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน วัฒนธรรมประเพณีงานศิลปกรรมที่หลากหลาย ทรงคุณค่า วัดวาอาราม บ้านเรือนไทยเหนือแบบโบราณ สถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ




6. สวนผึ้ง 
          สวนผึ้ง เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดราชบุรี ถูกโอบล้อมด้วยหุบเขา อยู่ท่ามกลางแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทะเลหมอก ธารนํ้าร้อนนํ้าตก ทั้งยังสามารถสัมผัสอากาศหนาวเย็นท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติ กางเต๊นท์ ชมหมอก พักผ่อนอย่างมีความสุข.... 




7. เขาสก 
     เขาสกคือป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สมบูรณ์ทั้งความเขียวสดชื่นและเย็นฉํ่าของสายนํ้าอย่าง"กุ้ยหลินเมืองไทย" หรือ "เขื่อนรัชชประภา" เรียกได้ว่ามาเที่ยวเขาสกได้ทั้งสองบรรยากาศแบบไม่เพียงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติแต่ในด้านประวัติศาสตร์ เขาสกยังเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ คนเขาสกเล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีตลำคลองศกกว้างใหญ่จนเรือสำเภาสามารถแล่นเข้ามาจากปากอ่าวถึงที่นี่ได้ เคยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมายผืนป่าเขาสกจึงเปรียบเสมือนตัวแทนที่เชื่อมโยงอดีตแห่งอาณาจักรโบราณเมื่อยุคหลายพันปีก่อนกับปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน.



8. เขาค้อ
           ตั้งอยู่ในเขตของเมืองมะขามหวาน…เพชรบูรณ์ ‘เขาค้อ’  ชื่อฟังดูบึกบึน (เพราะทำให้นึกถึงพี่เขาค้อ-เขาทรายนักมวยคู่แฝด) แต่เมืองนี้แสนจะอ่อนโยน สุดจะโรแมนติกอย่าบอกใครด้วยหมอกขาวที่ลอยกรุ่นอยู่เสมอๆ โดยฉพาะในช่วงฟ้าหลังฝน ท่ามกลางวิวเนินเขาที่สลับซับซ้อน ที่นี่จึงไม่ยากที่จะทำคะแนนขึ้นเป็นอีกหนึ่งเมืองอากาศดีในใจของใครหลายๆคน อ้อ.... ไปแล้วก็อย่าลืมไปชมทุ่งกะหล่ำปลีสีเขียวสดด้วยนะ กำลังผลิดอกออกผลช่วง เดือนตุลาคม – กลางเดือนธันวาคม






9. วังนํ้าเขียว
                 ดินแดนสีเขียวชอุ่ม ขึ้นชื่อลือชากันในนาม“สวิสเซอร์แลนด์แดนอีสาน” อุดมโอโซนบริสุทธิ์ สูดซึมซับกันได้ชุ่มปอด .. ฉํ่าใจไปกับทัศนียภาพภูเขาเนินน้อยใหญ่นานาสัตว์หายาก และพืชพรรณ รวมไปถึงสวนผัก ปลอดสารพิษ ที่สามารถลิ้มลองความสดใหม่ไร้สารกันได้ถึงที่ปลูก ฟังอย่างนี้แล้วถ้าถูกใจ เราจะพาไป GoingGreen กัน ณ บัดนาว!.... 




 10. สังขละบุรี 
                   สังขละบุรีเมืองเล็กๆ ที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของ 3 เชื้อชาติ ทั้งไทย มอญ และกระเหรี่ยงงมีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจมาที่นี่อาจจะไม่พบความศิวิไลซ์เหมือนเมืองอื่น งมีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจมาที่นี่อาจจะไม่พบความศิวิไลซ์เหมือนเมืองอื่น ....







แหล่งอ้างอิงข้อมูลhttp://www.chillpainai.com